วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปริมาตรพีระมิด

ปริมาตรพีระมิด
พีระมิด (Pyramid) คือ ทรงสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใดๆ มียอดแหลมซึ่งไม่อยู่บนระนาบเดียวกับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น
นิยมเรียกชื่อพีระมิดตามลักษณะของฐาน เช่น พีระมิดฐานสามเหลี่ยม พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า พีระมิดฐานหกเหลี่ยมด้านเท่า เป็นต้น

พีระมิดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ พีระมิดตรง และ พีระมิดเอียง
พีระมิดตรง หมายถึง พีระมิดที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมด้านเท่าทุกมุม มีสันยาวเท่ากันทุกเส้น จะมีสูงเอียงทุกเส้นยาวเท่ากัน และส่วนสูงตั้งฉากกับฐานที่จุดซึ่งอยู่ห่างจากจุดยอดมุมของรูปเหลี่ยมที่เป็นฐานมีระยะเท่ากัน มีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ส่วนกรณีที่มีสันทุกสันยาวไม่เท่ากัน สูงเอียงทุกเส้นยาวไม่เท่ากัน เรียกว่า พีระมิดเอียง



พื้นที่ผิวของพีระมิด
พื้นที่ของหน้าทุกหน้าของพีระมิดรวมกัน เรียกว่า พื้นที่ผิวข้างของพีระมิด และพื้นที่ข้างของพีระมิดรวมกับพื้นที่ฐานของพีระมิด เรียกว่า พื้นที่ผิวของพีระมิด


ปริมาตรพีระมิด




ค่าประจำหลัก

                                                          ค่าประจำหลัก
1. หลักเลข
2. ค่าประจำหลัก
3. ค่าของเลขโดด     ค่าของเลขโดในหลักต่าง ๆ ค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก มีค่าเท่ากับ ผลคูณของเลขโดดนั้นกับค่าประจำหลัก เช่น จำนวน 36,758,000
     

     จงพิจารณาจำนวนต่อไปนี้
     517,603,024
     
4. การเขียนในรูปกระจาย     การเขียนในรูปกระจาย การเขียนตัวเลขแทนจำนวนในรูปกระจาย เป็นการเขียนตัวเลขในรูปการบวกค่าของเลขโดดในหลักต่าง ๆ ของจำนวนนั้น ถ้าเลขโดดหลักใดเป็นศูนย์ ไม่จำเป็นต้องนำมาเขียน ในรูปของการบวกด้วยก็ได้ เช่น  จำนวน 23,760,591,480
     เขียนในรูปกระจายได้ ดังนี้
          20,000,000,000 + 3,000,000,000 + 700,000,000 + 60,000,000 + 500,000 + 90,000 + 1,000 + 400 + 80

ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/923-00/

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การประมาณค่า

ในชีวิตประจำวันของคนเรา บ่อยครั้งที่ต้องอาศัยข้อมูลจากการคำนวณมาประกอบการตัดสินใจ
   และการคำนวณเป็นการคำนวณคร่าว ๆ  ค่าที่ได้ไม่ใช่ค่าที่แท้จริงแต่มีความใกล้เคียงพอที่จะตอบปัญหา
   หรือ ตัดสินใจได้               ใช้สัญลักษณ์        แทนคำว่า   มีค่าประมาณ

ตัวอย่าง    1.  8.6 + 5.3   มีค่าเท่าใด  ?

                        ค่าที่แท้จริงได้จากการคำนวณ        8.6  +  5.3   =   13.9

                        เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์                

                        ค่าประมาณคือ                              14

                2.  นรีไปเดินซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ตแห่งหนึ่งได้ใบเสร็จดังนี้

      กระดาษชำระ  1 ห่อ  ราคา    38.25  บาท
-----38.25  ประมาณเป็น  40  บาท

      น้ำมันพืช       1 ขวด ราคา    43.50  บาท
-----43.50  ประมาณเป็น  40  บาท

      น้ำตาลทราย  1 ถุง    ราคา   13.75  บาท
-----13.75  ประมาณเป็น  10  บาท

               รวมเป็นเงิน  95.50  บาท
     รวมเป็นเงินประมาณ   90  บาท

นรีต้องการตรวจสอบว่าการคิดราคาสินค้าถูกต้องหรือไม่ จึงคำนวณคร่าวๆ กับราคาจริงปรากฏว่า
   ราคาใกล้เคียงกัน จึงสรุปได้ว่าการคิดราคาของสินค้า ถูกต้อง


การปัดเศษ
                  ในการปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็มสิบที่ใกล้เคียงที่สุดทำได้โดยพิจารณาเลขโดดในหลักหน่วย

       ถ้าต่ำกว่า  5  ตัดทิ้งถ้าตั้งแต่  5 ขึ้นไป ปัดเป็น 10

         ตัวอย่าง  
 1. พิจารณาการประมาณค่าของ  24  โดยการปัดเศษเป็นจำนวนเต็มสิบ
          
                     
                                 เนื่องจากบนเส้นจำนวน  24  นั้นเป็นหลักหน่วยมีค่าต่ำกว่า  5  ต้องปัดทิ้ง
                            ดังนั้น   ปัดเศษ  24  เป็นจำนวนเต็มสิบได้  20
                
                        2. พิจารณาการประมาณค่าของ  27 โดยการปัดเศษเป็นจำนวนเต็มสิบ
                                                    
                                 เนื่องจากบนเส้นจำนวน  27  นั้นเป็นหลักหน่วยมีค่าสูงกว่า  5  ต้องปัดขึ้น

                            ดังนั้น   ปัดเศษ   27  เป็นจำนวนเต็มสิบได้  30


ที่มา:http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=79020
ที่มา:http://www.math.rwb.ac.th/sopa1/index6.htm

ความหมายของจำนวนเต็ม

จำนวนเต็ม
เมื่อเราพิจารณาบนเส้นจำนวน จะเห็นว่าจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนนับ ได้แก่ 1 , 2 , 3 , 4 , ...
จำนวนเต็มลบ ได้แก่ -1 , -2 , -3 , -4 , ...และศูนย์ ซึ่งไม่เป็นจำนวนเต็มบวกและจำนวนเต็มลบ
จำนวนเต็มบวก หมายถึง จำนวนนับ ตั้งแต่ 1 และเพิ่มทีละหนึ่ง เป็นต้นไปไม่สิ้นสุด ได้แก่ 1 , 2, 3 , 4 ,...
ดังนั้น 1 จึงเป็นจำนวนเต็มบวกที่น้อยที่สุดและจำนวนเต็มบวกอื่นๆ เนื่องจาก เมื่อกำหนดจำนวนเต็มบวกใดๆ เราสามารถหาจำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากกว่า และอยู่ถัดไปด้วยการบวกด้วย 1 ดังนั้นจึงไม่สามารถหาจำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดได้
ศูนย์ เราทราบแล้วว่า 1 เป็นจำนวนเต็มบวกที่น้อยที่สุด ถ้าพิจารณาจำนวนจำนวนหนึ่งซึ่งมีค่าน้อยกว่า 1 และอยู่ห่างจาก 1 เป็นระยะทาง 1 หน่วย จะได้จำนวนเต็มจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า จำนวนเต็มศูนย์ หรือ เรียกย่อๆว่า ศูนย์และเขียนแทนด้วย 0
สรุป
1. จำนวนเต็มบวก หมายถึง จำนวนนับ ตั้งแต่ 1 และเพิ่มทีละหนึ่ง เป็นต้นไปไม่สิ้นสุด ได้แก่ 1 , 2 , 3 , 4 ,...
2. จำนวนเต็มศูนย์ คือ จำนวนที่อยู่ห่างจาก 1 เป็นระยะทาง 1 หน่วยและมีค่าน้อยกว่า 1 ถ้าพิจารณาเส้นจำนวนจะอยู่ตรงกลางระหว่าง 0 กับ -1
การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม







  


 

ที่มา:
http://www.tutormathphysics.com/index.php/component/content/article/103-math-m1-realn/647-math-m1-realn-2.html